ヾ(◍´∀ `◍)ノ゙♡ ♫ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวอชิรญา ไกลคำทูล ค่ะ ヾ(◍´∀ `◍)ノ゙ ♫ ♫

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 19   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



** เนื่องจากในวันนนี้เป็นวัน 'สอบกลางภาค' วันแรก จึงไม่มีการเรียนการสอน ^^ **













        





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 12   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)


เวลา  08.30-12.20 น.

การเรียนการสอนในวันนี้สอนเกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบเรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
-เปรียบเทียบเรียงลำดับและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
      จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน

    การรวมและการแยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผมรวม ไม่เกิน 10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวน ไม่เกิน 10

             สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง


         เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
        เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

           สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดการกระทำ
       ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
       รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

           สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง




          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
        การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

           สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กิจกรรมในวันนี้
อาจารย์แจกกระดาษมาหนึ่งแผ่น แจกกระดาษสีแล้วให้นักศึกษาวาดรูปร่างต่างๆมา1 รูป ต่อมา ให้ตัดรูปที่ตัวเองวาดไปแปะลงตรงกลางกระดาษA4 จากนั้นก็ตกแต่งให้เป็นรูปสัตว์ต่างๆตามความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง ในวันนี้ดิฉันได้ตัดเป็นรูปวงกลม ทำเป็นหมู อู๊ด อู๊ด  >3<

ความรู้ที่ได้รับ
ทำให้เรารู้เกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวการสอนการสอนเด็กปฐมวัย นำไปปรับใช้กับการสอนของเราในอนาคต ทำให้เราได้วางแผนการสอนก่อน สามมารถคิด สร้างสรรค์กิจกรรมที่จะทำให้เด็กสนุกไปกับเราได้






  

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 5   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

**เนื่องในวันนี้เป็น วันพ่อแห่งชาติจึงไม่มีการเรียนการสอน >/\< **






 




วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 28   เดือนพฤศจิกายน   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

              ในวันนี้อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ในวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็จะมีหัวข้อต่างๆดังนี้

-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาเริ่มกันที่กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ดิฉันนำเสนอ เกี่ยวกับจำนาวนและการดำเนินการซึ่ง
              จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่าง ๆ  ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกถึงความมากหรือน้อย จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ
              การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่า ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า    เช่น การบวก การลบ

            โดยจำนวนและการดำเนินการนั้น อาจแปลง่ายก็คือ จำนวนของสิ่งของต่างๆ ตัวเลข จำนวนของสมุด ดินสอ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเด็ก  สีของสิ่งของต่างๆ ของที่มากกว่าน้องกว่า ก็จะทำให้เด็กเข้าใจง่ายในการเรียน


      พวกเราได้ยกตัวอย่างและให้เพื่อนๆทำกิจกรรมร่วมกับพวกเราโดยสมมติตัวเองเป็นเด็กอีกครั้ง  ในสไลด์จะมีรูป ก็จะมีรูปภาพของสิ่งต่างๆ ให้เด็กๆดูว่ามันคืออะไร แล้วก็ช่วยกันตอบ


  กลุ่มที่สอง ก็จะนำเสนอเกี่ยวกับ การวัด ซึ่ง การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ สำหรับเด็กปฐมวันนั้นการวัดสิ่งของต่างๆอาจจะยังไม่มีหน่วย แต่ถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้การวัด ก็จะวัดได้จากสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ความสูงก็อาจจะวัดได้จากการนำสิ่งของมาต่อกัน เช่น ไม่บรรทัด ตุ๊กตาที่อยู่ในห้อง ถ้าอยากวัดความกว้างก็อาจจะให้เด็กกางแขน หรือต่อตัวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่จะสอนเด็ก 


กลุ่มที่สาม นำเสนอเกี่ยวกับ เรขาคณิต รูปร่าง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงต่างๆ เด็กก็จะเรียนรู้ ได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำได้ ครูผู้สอนควรสอนจากสิ่งต่างๆที่อยู่ในห้อง สิ่งรอบๆตัวเด็ก อาจจะถามเด็กว่า    
ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ”  เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ไม้ต่อบล็อก แก้วน้ำกระดาษ ผลไม้จำลอง  เด็กก็จะได้เรียนรู้ ได้เข้าใจและง่ายขึ้น

กลุ่มที่สี่ นำเสนอเกี่ยวกับ พีชคณิต  พีชคณิต อาจจะใช้ร่วมกับเรขาคณิต การใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ



กลุ่มที่ห้า  นำเสนอเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถิติ ตัวชี้วัด มาตรฐาน ข้อมูลประจำวันต่างๆของเด็ก คุณครูอาจะทำแผนภูมิความสูงของเด็กในแต่ละเดือน  การเก็บข้อมูลของนักเรียนในรูปแบบต่างๆ

ในระหว่างที่เพื่อนๆกำลังเสนองานของตัวเอง อาจารย์ก็ได้ให้ใบประเมินมาประเมินเพื่อนๆที่กำลังนำเสนอ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมให้คะแนน คะแนนในการประเมินจากเพื่อนๆจะเป็นคิดเป็น 30% และจากตัวอาจารย์อีก 70%  ><



หน้าตาของใบประเมิน ^^)/


ความรู้ที่ได้รับ
ทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสาระการรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนๆได้นำเสนอความรู้และกิจกรรมต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับการสอนของเราในอนาคตได้ กิจกรรมต่างๆจะทำให้ระหว่างการเรียนการสอนของเด็กๆนั้นไม่น่าเบื่อ ทำให้เด็กสนุกสนาน มีความต้องการที่จะเรียนมากขึ้น







วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 21   เดือนพฤศจิกายน   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ก็จะสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สอนเกี่ยวกับจำนวน ทักษะพื้นฐานต่างๆ จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้เด็กได้คิด เปิดโอกาสให้เด็กได้ถาม ได้ตอบ เพราะคำถามคำตอบของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกันและมันก็ไม่มีผิดมีถูก เพราะกระบวนการคำของเด็กแตกต่างกัน

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
2.พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
3.ให้เด็กรู้จักและใช้ขบวนการหาคำตอบ
4.ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
6.ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-การสังเกต (Opservation)
-การจำแนกประสาท  (Classifying)
-การเปรียบเทียบ  (Comparing)
-การจัดลำดับ  (Ordering)
-การจัด  (Measurement)
-การนับ  (Counting)
-รูปทรงและขนาด  (Sharp and Size)
                 
 คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข  -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
ขนาด  -  ใหญ่  คล้าย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
รูปร่าง  -  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า  แถว
ที่ตั้ง  -  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
ค่าความเร็ว  -  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท
อุณหภูมิ  -  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

ภาพวีดีโอของต่างประเทศเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ^^


กิจกรรมในวันนี้
            กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับตัวเลข โดยอาจารย์ให้นักศึกษาวาดวงกลมหนึ่งวงแล้วก็เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบไปหนึ่งเลข แต่ห้ามเกิน10 แล้วอาจารย์ก็เฉลยว่าจำนวนตัวเลขที่เขียนอยู่ในวงกลมนั้นจะเป็นกลีบดอกไม้ของเรา จากนั้นก็ตัดกระดาษสีตามจำนวนตัวเลขที่เราเขียนทำเป็นกลีบดอกไม้ แล้วก็ตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการ  >.<

ความรู้ที่ได้รับ
ทำให้เราสามารถนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็กได้ เด็กจะเกิดความตื่นเต้น แล้วยังได้คิด ได้นับเลขไปในตัวด้วย ได้ใช้ความคิด หรือแม้กระทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้กรรไกรตัดกระดาษสีต่างๆ เด็กจะมีความสนุกและภูมิใจในผลงานของตัวเอง





วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 14   เดือนพฤศจิกายน   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้สอน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ความหมายของคณิตศาสตร์ คือระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์การพูด การเขียน ตัวเลข จำนวน การวัด เลขาคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ทั้งนี้อาจารย์ยังได้บอกถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการสำรวจ การคิดแก้ปัญหา เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย
แล้วต่อด้วยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจท์ ตามขั้นต่างๆ สอนเรื่องการอนุรักษ์ โดยการจับคู่ การเปรียบเทียบปริมาตรรูปทรง  การนับ  จับกลุ่ม โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาคือการเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร คือน้ำในแก้วสองใบ แล้วก็การนับหรือจับคู่ก้อนหิน แล้วก็สอนหลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถาม เรียนผ่านสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ยิ่งเด็กสัมผัสกับของจริง เด็กก็จะมีประสบการณ์มากขึ้น เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ใช้คำถามปลายเปิดในการสร้างความเข้าใจ

กิจกรรมในวันนี้
             ในนักเรียนวาดสัตว์ที่มีเท้าเยอะ โดยให้เห็นเท้าชัดๆ วาดตามใจชอบเลย ^^ พอวาดเสร็จแล้ว อาจารย์ก็จะให้กระดาษสีมาตัดทำเป็นรองเท้าของสัตว์ตัวนั้น แล้วก็แปะให้สวยงาม



ความรู้ที่ได้รับ

            ทำให้เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับการนับจำนวน การตัดกระดาษ แล้วยังได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจับคู้และรูปทรงต่างๆ