ヾ(◍´∀ `◍)ノ゙♡ ♫ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวอชิรญา ไกลคำทูล ค่ะ ヾ(◍´∀ `◍)ノ゙ ♫ ♫

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 19   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



** เนื่องจากในวันนนี้เป็นวัน 'สอบกลางภาค' วันแรก จึงไม่มีการเรียนการสอน ^^ **













        





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 12   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)


เวลา  08.30-12.20 น.

การเรียนการสอนในวันนี้สอนเกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบเรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
-เปรียบเทียบเรียงลำดับและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
      จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน

    การรวมและการแยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผมรวม ไม่เกิน 10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวน ไม่เกิน 10

             สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง


         เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
        เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

           สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดการกระทำ
       ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
       รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

           สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง




          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
        การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

           สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กิจกรรมในวันนี้
อาจารย์แจกกระดาษมาหนึ่งแผ่น แจกกระดาษสีแล้วให้นักศึกษาวาดรูปร่างต่างๆมา1 รูป ต่อมา ให้ตัดรูปที่ตัวเองวาดไปแปะลงตรงกลางกระดาษA4 จากนั้นก็ตกแต่งให้เป็นรูปสัตว์ต่างๆตามความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง ในวันนี้ดิฉันได้ตัดเป็นรูปวงกลม ทำเป็นหมู อู๊ด อู๊ด  >3<

ความรู้ที่ได้รับ
ทำให้เรารู้เกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวการสอนการสอนเด็กปฐมวัย นำไปปรับใช้กับการสอนของเราในอนาคต ทำให้เราได้วางแผนการสอนก่อน สามมารถคิด สร้างสรรค์กิจกรรมที่จะทำให้เด็กสนุกไปกับเราได้






  

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 5   เดือนธันวาคม   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

**เนื่องในวันนี้เป็น วันพ่อแห่งชาติจึงไม่มีการเรียนการสอน >/\< **






 




วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 28   เดือนพฤศจิกายน   พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4   กลุ่มเรียน102   (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.

              ในวันนี้อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ในวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็จะมีหัวข้อต่างๆดังนี้

-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาเริ่มกันที่กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ดิฉันนำเสนอ เกี่ยวกับจำนาวนและการดำเนินการซึ่ง
              จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่าง ๆ  ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกถึงความมากหรือน้อย จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ
              การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่า ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า    เช่น การบวก การลบ

            โดยจำนวนและการดำเนินการนั้น อาจแปลง่ายก็คือ จำนวนของสิ่งของต่างๆ ตัวเลข จำนวนของสมุด ดินสอ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเด็ก  สีของสิ่งของต่างๆ ของที่มากกว่าน้องกว่า ก็จะทำให้เด็กเข้าใจง่ายในการเรียน


      พวกเราได้ยกตัวอย่างและให้เพื่อนๆทำกิจกรรมร่วมกับพวกเราโดยสมมติตัวเองเป็นเด็กอีกครั้ง  ในสไลด์จะมีรูป ก็จะมีรูปภาพของสิ่งต่างๆ ให้เด็กๆดูว่ามันคืออะไร แล้วก็ช่วยกันตอบ


  กลุ่มที่สอง ก็จะนำเสนอเกี่ยวกับ การวัด ซึ่ง การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ สำหรับเด็กปฐมวันนั้นการวัดสิ่งของต่างๆอาจจะยังไม่มีหน่วย แต่ถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้การวัด ก็จะวัดได้จากสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ความสูงก็อาจจะวัดได้จากการนำสิ่งของมาต่อกัน เช่น ไม่บรรทัด ตุ๊กตาที่อยู่ในห้อง ถ้าอยากวัดความกว้างก็อาจจะให้เด็กกางแขน หรือต่อตัวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่จะสอนเด็ก 


กลุ่มที่สาม นำเสนอเกี่ยวกับ เรขาคณิต รูปร่าง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงต่างๆ เด็กก็จะเรียนรู้ ได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำได้ ครูผู้สอนควรสอนจากสิ่งต่างๆที่อยู่ในห้อง สิ่งรอบๆตัวเด็ก อาจจะถามเด็กว่า    
ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ”  เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ไม้ต่อบล็อก แก้วน้ำกระดาษ ผลไม้จำลอง  เด็กก็จะได้เรียนรู้ ได้เข้าใจและง่ายขึ้น

กลุ่มที่สี่ นำเสนอเกี่ยวกับ พีชคณิต  พีชคณิต อาจจะใช้ร่วมกับเรขาคณิต การใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ



กลุ่มที่ห้า  นำเสนอเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถิติ ตัวชี้วัด มาตรฐาน ข้อมูลประจำวันต่างๆของเด็ก คุณครูอาจะทำแผนภูมิความสูงของเด็กในแต่ละเดือน  การเก็บข้อมูลของนักเรียนในรูปแบบต่างๆ

ในระหว่างที่เพื่อนๆกำลังเสนองานของตัวเอง อาจารย์ก็ได้ให้ใบประเมินมาประเมินเพื่อนๆที่กำลังนำเสนอ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมให้คะแนน คะแนนในการประเมินจากเพื่อนๆจะเป็นคิดเป็น 30% และจากตัวอาจารย์อีก 70%  ><



หน้าตาของใบประเมิน ^^)/


ความรู้ที่ได้รับ
ทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสาระการรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนๆได้นำเสนอความรู้และกิจกรรมต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับการสอนของเราในอนาคตได้ กิจกรรมต่างๆจะทำให้ระหว่างการเรียนการสอนของเด็กๆนั้นไม่น่าเบื่อ ทำให้เด็กสนุกสนาน มีความต้องการที่จะเรียนมากขึ้น